วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น  คนฟังยิ่งมากยิ่งดี  ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย
การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้  แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์  รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

Present Simple Tense

Present Simple Tense

                      โครงสร้างประโยค  คือ   Subject + Verb 1
        
          ใช้กับเหตุการณ์
1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่เป็นความจริงตลอดไปหรือเป็นความจริงตามธรรมชาติ เช่น
The sun rises in the east.( พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก )            .                                              
  Fire is hot.
( ไฟร้อน )
             2. ใช้กับการกระทำที่ทำจนเป็นนิสัย มักจะมีกลุ่มคำที่มีความหมายว่า เสมอๆ บ่อยๆ ทุกๆ อยู่ด้วย เช่น               
I get up at six o’clock everyday.
( ฉันตื่นนอนเวลา 6 นาฬิกาทุกวัน )                                                                           
หลักการจำและนำไปใช้
             1.  ประธาน  He, She, It  หรือ 1 เดียวเท่านั้น ต้องเติม s หรือ es  ท้ายคำกริยาด้วย มีกริยาช่วย คือ does 
                2.  ประธาน I, You, We, They, หรือ 2 ขึ้นไป กริยาเหมือนเดิม มีกริยาช่วย คือ  do
   3.  do และ does  ใช้ในประโยค คำถามและปฏิเสธ
   4.  ในประโยคมีคือ does กริยาไม่ต้องเติม s / es

ชนิดของประโยค
    1. ประโยคบอกเล่า =   Subject + Verb1 + (Object).   เช่น

                 She likes English .
                 Jack plays football everyday.
                 I like Thai .   
                 Jack and his friends play football everyday.

     2. ประโยคคำถาม
         2.1  Yes/No question
               ใช้  Do, Does + ประธาน + กริยา ?  

                 Does she like English? 
               Does Jack play football everyday?                 
                 Do you like Thai?
                 Do Jack and his friends play football everyday?

            การตอบแบบ Short answer  
               Yes, he/she/it does.
                 No, he/she/it doesn’t.

                 Yes, I/you/we/they do.
                 No, I/you/we/they don’t.
        
2.2   ใช้ Question words 
       (What/ Where/ When / Why/ ……+ do/does + ประธาน + กริยา…….?) เช่น
          
           What do you eat for lunch?       I eat noodles.
                      Where does Jim go Mondays?   He goes to school. 
                                   How do they go to school?         They go to school by school bus.


     3. ประโยคปฏิเสธ ใช้ do not (don’t), does not (doesn’t) ตามด้วยคำกริยาแท้รูปเดิม           I don’t like Thai.                                                                                                                                                                                                    
         She
doesn’t like English.                                                                               
         Jack
doesn’t play football everyday.         
                                                                                   
หลักการเติม s ที่คำกริยา
1.กริยาที่ลงท้ายด้วย o, s, x, ch, ss, และ sh,  ให้เติม es เช่น
        pass - passes = ผ่าน       brush - brushes = แปรงฟัน    catch - catches = จับ                             
go - goes =
ไป               
box - boxes =
ชก
2.กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y ไม่ใช่  a e i o u ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
       study studies เรียน,          cry - cries = ร้องไห้,         fry - fries = ทอด    
3. กริยาที่นอกเหนือจากที่ไม่เข้ากฎในข้อ 1 และ ข้อ 2 ให้เติม s ได้เลย

Adverb of Frequency  ใช้ขยายคำกริยา เพื่อบอกถึงความถี่ของการกระทำ และจะวางไว้หน้าคำกริยานั้นๆด้วย ยกเว้น sometimes อยู่ ต้นประโยคก็ได้ เช่น
                 always    สม่ำเสมอ 100 %           usually    เป็นประจำ 80 %     often       บ่อยๆ 60 %
           sometimes    บางครั้งบางคราว 30 %   seldom    นานๆครั้ง 10 %       never     ไม่เคย 0 %

Examples:
      Sandy always goes to school early.
      Mary usually cooks dinner.
      We often drink milk.
      I never go to London.
                         Sometimes I eat pizza for lunch.